หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เดลินิวส์ 26/2/56

สรุปข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

6บริษัทใหม่จ่อคิวเข้าตลท. นักลงทุนรอช้อนซื้อคึกคัก
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ถือเป็นจังหวะดีที่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ต่าง ๆ จะเพิ่มทุน รวมถึงเป็นโอกาสที่บริษัทน้องใหม่จะเสนอขายหุ้นสามัญให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เนื่องจากภาพรวมการลงทุนมีความสดใส หลังดัชนีปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งปริมาณการซื้อขาย (วอลุ่ม) เฉลี่ยต่อวันก็มีความคึกคักมาก

สบน.เซ็นกู้3.4แสนล้านบาท กฤษฎีกาไฟเขียว2ล้านล้านบ.
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเริ่มเซ็นสัญญากู้เงินตามพระราชการหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 350,000 ล้านบาท เพื่อใช้ฟื้นฟูสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งยังเหลือวงเงินกู้อีก 340,000 ล้านบาท และต้องดำเนินการกู้ให้เสร็จก่อนวันที่ 30 มิ.ย. 56 นี้ โดยกระทรวงการคลังจะทยอยเซ็นสัญญาเงินกู้ครั้งละประมาณ 50,000-70,000 ล้านบาท กับธนาคารพาณิชย์ที่ประมูลให้ดอกเบี้ยต่ำที่สุด โดยสัญญาเงินกู้จะให้มีการเบิกจ่ายตามการใช้จ่ายจริง เพื่อเป็นการประหยัดดอกเบี้ย โดยมีระยะเวลาในการเบิกแต่ละสัญญาประมาณ 4-5 ปี ต้องเบิกจ่ายให้หมด

ตื่นตุนแก๊สผวาเมษาวิกฤติ เรียกเก็บซื้อล่วงหน้า พาณิชย์สั่งตรวจสอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเกิดกระแสข่าวว่าไทยจะเกิดวิกฤติพลังงาน ก๊าซธรรมชาติและไฟดับในเดือน เม.ย. 56 ส่งผลให้ผู้ประกอบการแก๊สหุงต้มบรรจุถัง เริ่มสั่งซื้อแก๊สหุงต้มเพิ่มขึ้นและเตรียมกักตุนล่วงหน้า เนื่องจากกังวลว่าจะไม่มีแก๊สหุงต้มเพียงพอจำหน่าย และใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะร้านอาหาร หลังจากประเทศพม่าเตรียมหยุดซ่อมแซมและจ่ายก๊าซธรรมชาติมาไทยช่วงวันที่ 5-14 เม.ย. ที่จะถึงนี้

ธ.เอสเอ็มอีหนี้เสียบานฉ่ำ พิษค่าแรง-ค่าเงินผันผวน
นายพากร วังศิราบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายรายเริ่มประสบปัญหาการชำระหนี้กับสถาบันการเงิน หลังมีต้นทุนทำธุรกิจสูงขึ้นโดยเฉพาะนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แบบก้าวกระโดดของรัฐบาล, ราคาวัตถุดิบที่สูงและความผันผวนของค่าเงินบาท เป็นต้น จนทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันของเอกชนต่ำลง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีเอ็นพีแอลในระดับที่สูง

ธอท.ถอยลดเพิ่มทุนเหลือ7พันล้านบาท
นายธานินทร์ อังสุวรังษี ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) เปิดเผยว่า ธนาคารอยู่ระหว่างปรับแผนเพิ่มทุนใหม่ ตามที่กระทรวงการคลังสั่งให้ทบทวนขอเงินเพิ่มทุนเดิมที่ 14,000 ล้านบาทใหม่ เนื่องจากเห็นว่ามีวงเงินสูงเกินไป โดยคาดว่าจะขอเงินเพิ่มทุน 6,000-7,000 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าขยายสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายขยายสินทรัพย์เป็น 200,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี รวมทั้งเตรียมสัดส่วนเงินลงทุนกับเงินให้สินเชื่อจาก 25% ต่อ 75% เป็น 20% ต่อ 80% โดยจะเน้นการเพิ่มสัดส่วนการขยายสินเชื่อไปยังรายย่อยมากขึ้น นอกจากนี้ยังตั้งเป้ายอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากการปล่อยสินเชื่อใหม่ต้องไม่เกิน 2% จากปัจจุบันมีเอ็นพีแอลที่ 39,000 ล้านบาท หรือ 20% ของสินเชื่อทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น